ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

บทความ

อ่านต่อ
ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ในกรณีใดบ้าง

สามี/ภรรยา มีคนอื่นสามารถเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ ??

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ มาตรา 1523 กำหนดไว้ว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตร 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

วรรคสอง สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

วรรคสาม ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทพการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

คำว่า สามี หรือภริยา นั้นหมายถึง ชายหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสกันเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย 

มิใช่สามีภริยาที่อยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส

 

อ่านต่อ
ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ
คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ จะฟ้องหย่าต้องทำอย่างไรบ้าง ??
 
ข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาเมื่อจะฟ้องหย่าชาวต่างชาติ
1. กฎหมายสัญชาติของคู่สมรส กำหนดให้หย่ากันได้ ตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 กำหนดไว้ว่า ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้
 
2. เหตุหย่าต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ดังต่อไปนี้

(1) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่สมรส เป็นชู้หรือมีชู้ ร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ หรือกระทำกับผู้อื่นหรือยอมรับการกระทำของผู้อื่นเพื่อสนองความใคร่ของตนหรือผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

      (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

 

      (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นคู่สมรสของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

      (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันคู่สมรสมาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นคู่สมรสกันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) คู่สมรสสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันคู่สมรสได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นคู่สมรสอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันคู่สมรสมาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันคู่สมรสต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณี หรือไม่อาจกระทำการหรือยอมรับการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของอีกฝ่ายได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อฟ้องคดี
1. ใบสำคัญการสมรส
2. ทะเบียนสมรส
3. ใบสูติบัตรบุตร (ถ้ามีบุตรด้วยกัน)
4. ทะเบียนบ้าน
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
6. ภาพถ่ายครอบครัว
7. หลักฐานเกี่ยวกับเหตุที่จะฟ้อง เช่น ภาพถ่ายหรือคลิปวิดิโอที่ถูกทำร้ายร่างกาย  ภาพถ่ายหลักฐานที่คบหาคนอื่นเช่นคนรัก เป็นต้น 
8. ข้อมูลที่อยู่ของคู่สมรส และอีเมลล์

 

ระยะเวลาในการดำเนินการ
ในการฟ้องหย่าชาวต่างชาติจะใช้เวลานานกว่าฟ้องหย่าคนไทยด้วยกัน เนื่องจากต้องมีการส่งสำเนาคำฟ้องไปให้ยังจำเลยที่ต่างประเทศโดยจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่กรณี

 

เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์แปลคำฟ้องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นภาษาราชการของประเทศตามสัญชาติของจำเลย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้จำเลยรับทราบและเข้าใจคำฟ้องของโจทก์
 
 
หากท่านใดประสงค์จะฟ้องหย่าคู่สมรสชาวต่างชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางแชทไลน์ แอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ
อ่านต่อ
ยื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร

บุตรที่มิได้เกิดจากบิดาและมารดาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

บุตรจะไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (แต่ยังคงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา)
บิดาสามารถเข้าพบทนาย เพื่อให้ทนายยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เพื่อให้บิดามีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ 
สำหรับบิดาท่านใดที่ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เนื่องจากมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม
หรือให้ความยินยอม แต่บุตรยังไร้เดียงสา ต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ไปจดทะเบียนรับรองบุตรได้ จากนั้นจึงนำคำสั่งศาลเช่นนี้ ประกอบกับหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่อำเภอหรือสำนักงานเขต เพื่อขอจดทะเบียนรับรองบุตร
ในการจดทะเบียนรับรองบุตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ได้มีค่าธรรมเนียมนะครับ