ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

ปรึกษาทนาย

อ่านต่อ
ลูกนอกสมรสมีสิทธิรับมรดกมั้ยคะ ??
ถาม : เป็นลูกของพ่อ แต่พ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่ (ลูกนอกสมรส) เราจะมีสิทธิรับมรดกของพ่อมั้ยคะ/ครับ ??
ตอบ : มีสิทธิได้รับเท่ากันกับลูกในสมรสเลยค่ะ กฎหมายพิจารณาผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกตามสายเลือด
 
ส่วนใครจะมีสิทธิร้องขอจัดการมรดกต่อศาลได้บ้างได้แก่
1. ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก พิจารณาตามลำดับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ได้แก่ ผู้สืบสันดาน/คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดเดียวกัน, พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา
2. ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์มรดก, วัด (ทรัพย์มรดกของพระ), เจ้าหนี้ เป็นต้น
3. พนักงานอัยการ
ในการยื่นคำร้องขอจัดการมรดก ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต้องยื่นต่อศาล ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซึ่งก็คือ ตามทะเบียนบ้านของเจ้ามรดกขณะเจ้ามรดกเสียชีวิต
แต่มีกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร เช่น พ่อเป็นชาวต่างชาติ มีที่ดินอยู่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กรณีนี้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องดังข้างต้น สามารถยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล ซึ่งก็คือศาลจังหวัดชลบุรี
อ่านต่อ
กู้ยืมเงินออนไลน์ ไม่มีสัญญากู้ ฟ้องคดีได้หรือไม่ ?
กู้ยืมเงินกันผ่านแชท แต่ไม่มีสัญญากู้ยืมเงิน ก็สามารถฟ้องคดีได้
 
ลักษณะแชทที่จะนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดี จะต้อง
• มีข้อความที่ผู้กู้ขอยืมเงินจากผู้ให้กู้
• แสดงยอดเงินที่ขอกู้ยืม
• มีข้อความในลักษณะที่เป็นการยอมรับว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินกันจริง
 
ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2162/2567

แม้จำเลยให้การรับว่าได้รับเงินโอนจากโจทก์แล้วทั้งยี่สิบครั้งและพิมพ์คำว่า "ตกลง" ในโปรแกรมไลน์ (LINE) ตามที่โจทก์ให้พิมพ์ แต่การรับของจำเลยเป็นการรับตามที่ปรากฏในฟ้องเท่านั้น จำเลยยังมีข้อต่อสู้ว่าการโอนเงินดังกล่าวไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงินแต่เป็นการร่วมลงทุนประกอบธุรกิจออกแบบ ค้าขายเสื้อผ้า และส่งออกหน่อไม้ในลักษณะของการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งยังไม่มีการชำระบัญชี โจทก์จึงยังไม่สามารถฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อการกู้ยืมเงินครั้งที่ 1 โจทก์อ้างเพียงสำเนาเอกสารที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานว่า ธนาคารได้ทำการโอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เท่านั้น ไม่มีข้อความในเรื่องการกู้ยืมเงิน ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 1 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมมาแสดง ส่วนการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ปรากฏข้อความที่จำเลยพิมพ์ตอบ "ตกลง" เพื่อตกลงการกู้ยืมเงินตามที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินครั้งดังกล่าวแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยสำหรับการกู้ยืมครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

สำหรับการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 ซึ่งโจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยในทำนองเดียวกันว่า "ช. จะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่ ฐ. เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระเงินคืน ลงวันที่... (พิมพ์ตกลงเพื่อยืนยัน)" ซึ่งจำเลยได้พิมพ์ข้อความว่า "ตกลง" ตอบกลับมาในโปรแกรมไลน์ (LINE) ซึ่งจำเลยรับว่ามีการส่งข้อความโต้ตอบเช่นนี้จริง การสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่ออ่านข้อความสนทนาของโจทก์และจำเลยประกอบกันแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยตกลงกู้ยืมเงินแต่ละครั้งตามจำนวนที่ระบุในโปรแกรมไลน์ (LINE) แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อจำเลยไว้แต่เมื่อจำเลยยอมรับว่าส่งข้อความตอบตกลงการที่โจทก์จะให้กู้ยืมเงินจริง ข้อความสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยผู้กู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

 

อ้างอิงจาก

https://deka.supremecourt.or.th/search/index/4