ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

คำพิพากษา

อ่านต่อ
หนี้ตามฟ้องในคดีล้มละลาย ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือมีคำพิพากษาก่อนหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 212/67
      มูลหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดลองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันและจำเลยอาจใช้สิทธิหักกลบบหนี้ได้ หาทำให้หนี้ตามฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนอีกไม่ ทั้งหนี้ที่นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9(3) ไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 9(3) 

       โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว 2 ครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8(9) แล้ว 

อ่านต่อ
ริบของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2567

คำพิพากษาศาลอุทธณณ์ภาค 9 ที่วินิจฉัยในเรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดของกลางว่า เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรง ให้ริบเสีย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ได้มีคำพิพากษาให้ริบ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) ประกอบมาตรา 215


ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ได้มีคำพิพากษาให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ด 8 เครื่อง ของกลาง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยในเรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ด 8 เครื่อง ของกลางว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรง จึงให้ริบเสีย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงต้องมีคำพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวด้วย แต่ปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ได้มีคำพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดของกลาง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และ มาตรา 215

 

อ้างอิงจาก : คำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2567 จัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา

อ่านต่อ
ฟ้องทำร้ายร่างกาย มาตรา 391 ศาลพิพากษา มาตรา 295 เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาฎีกาที่ 44/2567

ฟ้องโจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายชกต่อยใบหน้า เป็นเหตุให้มีบาดแผลฟกช้ำบริเวณขมับซ้าย โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิดใจ แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ปรับบทลงโทษตาม มาตรา 295 มาด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 391

 

อ้างอิงจาก : คำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2567 จัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา